วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

โครงงานเปรียบเทียบประสิทธิภาพของน้ำยาขัดรองเท้าจากเปลือกกล้วยแต่ละชนิด


 บทที่ 1 
บทนำ 
ที่มาและความสำคัญ

               จากการที่พวกเราได้สังเกตรองเท้าของเพื่อนๆนักเรียนในห้อง  จะพบว่ารองเท้าของเพื่อนๆไม่ค่อยจะมันวาว พวกเราก็เลยไปสำรวจถามเพื่อนๆ พบว่าสาเหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะเพื่อนๆแต่ละคนขี้เกียจซื้อจีวีย์ขัดรองเท้าแถมยังราคาแพงอีก พวกเราจึงได้คิดวิธีที่จะทำขี้ผึ้งขัดรองเท้านี้ขึ้นมา

              ปัจจุบันเราคงปฏิเสธกันไม่ได้ว่าน้ำยาขัดรองเท้าได้เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันของเรามากโดยเฉพาะสมัยเป็นนักเรียน นักศึกษา ซึ่งในน้ำยาขัดรองเท้านั้นมีสารพิษที่มีชื่อว่าสารซูดาน เรด (Sudan Red) ผสมอยู่ ซึ่งเป็นสีที่ใช้ย้อมในตระกูลซูดาน  มีคุณสมบัติสีสดใส  ติดทนทาน
 จากการวิจัยของหน่วยงานนานาชาติด้านการวิจัย พบว่า  สารซูดาน เรด  มีผลต่อการทำลาย DNA ซึ่งจะส่งผลให้เกิดเนื้องอกได้  ซึ่งสารพิษชนิดนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายของคนเราได้ด้วยการรับประทาน  การสูดดม  หรือการสัมผัส   คณะผู้จัดทำจึงสนใจที่จะนำวัสดุจากธรรมชาติ เช่นเปลือกผลไม้มาใช้ในการทำน้ำยาขัดรองเท้า ทั้งนี้คณะผู้จัดทำสนใจนำเปลือกกล้วยตากแห้งมาใช้ในการทำน้ำยาขัดรองเท้า



บทที่2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

                กล้วย เป็นพรรณไม้ล้มลุกในสกุล Musa มีหลายชนิด บางชนิดก็ออกหน่อแต่ว่าบางชนิดก็ไม่ออกหน่อ ใบแบนยาวใหญ่ ก้านใบตอนล่างเป็นกาบยาวหุ้มห่อซ้อนกันเป็นลำต้น ออกดอกที่ปลายลำต้นเป็น ปลี และมักยาวเป็นงวง มีลูกเป็นหวี ๆ รวมเรียกว่า เครือ พืชบางชนิดมีลำต้นคล้ายปาล์ม ออกใบเรียงกันเป็นแถวทำนองพัดคลี่ คล้ายใบกล้วย เช่น กล้วยพัด(Ravenala madagascariensis) ทว่าความจริงแล้วเป็นพืชในสกุลอื่น ที่มิใช่ทั้งปาล์มและกล้วย

ลักษณะทั่วไป

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa sapientum L.

ชื่อวงศ์ : Musaceae
ชื่อสามัญ : Banana
        กล้วย เป็นไม้ผล ลำต้น เกิดจากกาบหุ้มซ้อนกัน สูงประมาณ 2 – 5 เมตร ใบ เป็นใบเดี่ยว เกิดกระจายส่วนปลายของลำต้นเวียนสลับซ้ายขวาต่างระนาบกัน ก้านใบยาว แผ่นใบกว้าง เส้นของใบขนานกัน ปลายใบมน มีติ่ง ผิวใบเรียบลื่น ใบมีสีเขียวด้านล่างมีไขนวลหรือแป้งปกคลุม เส้นและขอบใบเรียบ ขนาดและความยาวของใบขึ้นอยู่กับ แต่ละพันธุ์ ดอก เป็นดอกห้อยลงมายาวประมาณ 60 – 130 ซม. ซึ่งเรียกว่าหัวปลี ตามช่อจะมีกาบหุ้มสีแดงเป็นรูปกลมรี ยาว 15 – 30 ซม. ช่อดอกมีเจริญก็จะกลายเป็นผล ผล เป็นผลสดจะประกอบด้วยหวีกล้วย เครือละ 7 – 8 หวี แต่ละหวีมีกล้วยอยู่ประมาณ 10 กว่าลูก ขนาดและสีของกล้วยจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามชนิดของแต่ละพันธุ์ บางชนิดมีผลสีเขียว , เหลือง , แดง แต่ละต้นให้ผลครั้งเดี่ยวเท่านั้น เมล็ด มีลักษณะกลมขรุขระ เปลือกหุ้มเมล็ดมีสีดำ หนาเหนียวเนื้อในเมล็ดมีสีขาว ขยายพันธุ์ ด้วยการแยกหน่อ หรือแยกเหง้า รสชาติฝาด


บทที่3
วัสดุอุปกรณ์และวิธีการทดลอง

อุปกรณ์

1.วาสลีน
2.พาราฟิน
3.เปลือกกล้วยหอมที่ตากแห้ง
4.เปลือกกล้วยน้ำว้าที่ตากแห้ง
5.เปลือกกล้วยเล็บมือนางที่ตากแห้ง
6.เปลือกกล้วยหินที่ตากแห้ง
7.เปลือกกล้วยน้ำไข่ที่ตากแห้ง
8.น้ำมันมะกอก
9.หัวเชื้อน้ำหอม
10.ถ่าน





วิธีการทำ

1.นำเปลือกกล้วยมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปคั่วให้เกรียม


2.นำเปลือกกล้วยที่ได้จากการคั่วมาตำให้ละเอียด หากไม่ละเอียดให้นำมาร่อนให้เป็นผง


3.หั่นพาราฟินให้เป็นชิ้นเล็กๆ


4.นำพาราฟินที่หั่นตั้งไว้ใส่ลงไปในหม้อ 5 ช้อนโต๊ะและต้มให้เหลว


5.ใส่วาสลีนลงไป 2 ช้อนชา และคนให้เข้ากัน


6.ใส่น้ำมันมะกอก 1 ช้อนโต๊ะ และคนให้เข้ากัน


7.ใส่ผงเปลือกกล้วย 2 ช้อนชา และคนให้เข้ากัน


8.ใส่ผงถ่าน 1 ช้อนชา และคนให้เข้ากัน



9.ใส่หัวเชื้อน้ำหอมตามชอบ และคนให้เข้ากัน



10.เทใส่พิมพ์ที่เตรียมไว้ 


11.ตั้งรอให้เย็นตัว และทำการทดลองใหม่แต่เปลี่ยนชนิดของผงเปลือกกล้วยเปรียบเทียบประสิทธิภาพและบันทึกผล



ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

-เป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นที่หาง่ายมาใช้ประโยชน์และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
-ของที่ได้มาสามารถนำมาใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน

วิดิโอนำเสนอ



ทดลองใช้งานโปรแกรม


 เป็นไฟล์ .ZIP ข้างในมีไฟล์ 3Dloader.html
 *ควรเปิดใช้กับ Mozillafirefox*

การใช้งานโปรแกรม 

-เมื่อดาวน์โหลดไฟล์เสร็จแล้วจะได้ไฟล์.zip
-แตกไฟล์ที่ได้จากการดาวน์โหลด
-เมื่อแตกไฟล์แล้ว จะมีโฟลเดอร์และไฟล์อยู่ คลิกเปิดไฟล์ 
3Dloader.html โดยใช้กับ Browser ของ Mozilla firefox



ผู้จัดทำโครงงาน


1. นางสาวธนัชพร อุตะปะละ            เลขที่ 5
2.นางสาวศศินี พงศ์จันทรเสถียร        เลขที่ 13
3.นายนิพิฐพนธ์ กามูณี                       เลขที่ 19
4.นายอริยวรรต สุวรรณเรืองศรี           เลขที่ 22

อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์ : อ.กัลยา รอดผล
อาจารย์ที่ปรึกษาคอมพิวเตอร์ : อ.จิรัฎฐ์  พงษ์ทองเมือง


โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช
Princess Chulabhorn's College,Nakhon Si Thammarat 
(Chulabhorn  Science High  School)


ขอบคุณแหล่งข้อมูลประกอบการทำโครงงาน






















http://www.4shared.com/rar/b8Z09jKd/3D_online.html?